บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2005

อเมริกันชนเป็นโรคบ้างาน

อเมริกันชนเป็นโรคบ้างาน ตั้งแต่ปลายปี คศ.1970 ถึงปลายปี คศ.1990 ค่าเฉลี่ยการชั่วโมงทำงานระหว่างสัปดาห์ ของมนุษย์เงินเดือนในสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 43 ชั่วโมงเป็น 47 ชั่วโมง และจากนั้นในอีกหลายปีที่ผ่านมา จำนวนคนทำงานที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง หรือ มากกว่านั้นเพิ่มขึ้นจาก 24% เป็น 37% สหรัฐอเมริกาได้นำหน้าประเทศญี่ปุ่น ในการเป็นประเทศที่มีชั่วโมงการทำงานที่มากที่สุด ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า มีกลุ่มใดบ้างที่มีชั่วโมงทำงานที่มากที่สุด กลุ่มนักบริหารและ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ส่วนหนึ่งของเหตุผลคือ ค่าเฉลี่ยของจำนวนชั่วโมงทำงานได้เพิ่มขึ้นเป็น 34% จากปี คศ.1999 เมื่อเทียบกับเดิมที่มีเพียง 27% ในปี คศ.1997 ในกลุ่มของนักบริหารและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สถิติชั่วโมงทำงานมีความแตกต่างอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในโลกนี้ ตัวอย่างเช่น ใน นอร์เวย์และสวีเดน คนทำงานทั่วไปจะมีวันหยุด 4-6 สัปดาห์ และไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ในกรณีได้รับอนุญาตให้ลาไปเลี้ยงดูบุตร(ทำหน้าที่พ่อแม่) ในฝรั่งเศส ชั่วโมงการทำงานตามกฎหมาย สูงสุดไม่เกินกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก ก็ส

ปัญหาการควบรวมกิจการ

เมื่อ Novell ได้ครอบงำกิจการของ WordPerfect Corporation ในปี คศ.1994 WordPerfect เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์โปรแกรม ประมวลผลคำศัพท์/พิมพ์งานเอกสาร(Word Processor) ที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดกว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ขณะที่ Novell ที่ก่อตั้งก็เชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ และต้องการแข่งขันเอาชนะกับ Microsoft อย่างเอาจริงเอาจัง ข้อตกลงเจรจาในการควบรวมบริษัททั้งสองนี้ ดูเหมือนว่าจะสมบูรณ์แบบ แต่มีข้อแตกต่างในมุมมองเบื้องต้นในวัฒนธรรมการให้บริการลูกค้า ก่อนการควบรวมกิจการ WordPerfect มีชื่อเสียงในสายการให้บริการลูกค้า แต่พนักงานของ WordPerfect ต่างมีความรู้สึกว่า ได้รับการมองอย่างไม่พึงพอใจในการให้บริการจากกพนักงาน Novell ทั้งสองบริษัทต่างไม่สามารถตกลงกัน ในการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวว่า บริษัทใดที่ต้องรับผิดชอบในการให้บริการลูกค้า แม้ว่าพนักงานระดับล่างของ WordPerfect จะคุ้นเคยกับอิสรภาพในการทำงานอย่างมีเสรีภาพ ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในบริษัทมาก่อน สามารถรับผิดชอบในการเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ การให้บริการลูกค้ามาก่อนเรื่องสิ่งอื่นใด แต่สำหรับพนักงาน Novell ต่างคุ้นเคยกับระบบการทำงานแบบรา

สายการผลิตจากภายนอก

Topsy Tail ธุรกิจบางประเภท สามารถสร้าง/รับประกันความสำเร็จ จากความเชี่ยวชาญของสายการผลิตภายนอก Tomima Edmark ผู้ประดิษฐอุปกรณ์ตกแต่งทรงผม จากพลาสติคยี่ห้อ Topsy Tail ไ้ด้สร้างบริษัทของเธอด้วยยอดขายกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี คศ.1993 ด้วยพนักงานเพียงสองคนเท่านั้น แทนการจ้างงานพนักงานกว่า 50 คนหรือมากกว่า Edmark และพนักงานจำนวนสองคนนี้ ได้สร้างเครือข่ายผู้ขายกลุ่มค้าปลีกจำนวน 20 ราย ในการดำเนินธุรกิจที่รับสินค้าทุกอย่างจากผู้ผลิตภายนอก แน่นอน Edmark จำเป็นต้องดูเอาใจใส่ และติดตามในเรื่องกฎเกณฑ์ของ ประสิทธิภาพ/คุณภาพของการผลิต จากสายการผลิตภายนอก เธอต้องควบคุมสายการผลิตสินค้าแบบใหม่ และกลยุทธทางการตลาด ซึ่งเป็นกล่องดวงใจของบริษัทเธอ เรียบเรียงจาก Marketing Management ของ Philip Kotler

สวนสัตว์สมัยใหม่

San Diego Zoo พันธกิจของสวนสัตว์ คือเปลี่ยนจากสวนสัตว์ทั่วไป จากแบบดั้งเดิม(อนุรักษ์) เป็นแบบเพื่อการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงองค์การ จากสภาพสวนสัตว์ที่ความสัมพันธ์ทั่วไป ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม เป็นสภาพแวดล้อมของสัตว์ล่าเหยื่อกับสัตว์ที่ถูกล่า สวนดอกไม้และฝูงสัตว์จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยที่สวนสัตว์แห่งนี้ มีสภาพต้องพึ่งพาอาศัยกัน(เกี่ยวโยงกัน) พนักงานที่บริหารจึงต้องทำงานร่วมกัน เช่น คนทำสวน คนดูแลพื้นที่ และผู้เชี่ยวชาญในการดูแลสัตว์ ต่างไม่มีการแบ่งหน้าที่กันทำเหมือน แบบองค์การแบบดั้งเดิม (ที่มีขอบเขตการทำงานเฉพาะเจาะจง) เรียบเรียงจาก Marketing Management ของ Philip Kotler

เจาะใจลูกค้า

Cannadian Pacific Hotels พยายามที่จะสร้าง Brand ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ลูกค้าในทุกอย่างที่คาดหวังได้ ประการแรก บริษัทได้ตั้งเป้าหมายไปยัง นักธุรกิจที่เดินทางเป็นประจำอย่างเป็นการเฉพาะเจาะจง โดยการเสนอให้ลูกค้าเข้าร่วมใน สมาชิกสโมสร Cannadian Pacific Hotels โดยจะระบุถึงทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการไว้ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการเป็นพิเศษ เช่น หมอนที่มีสารป้องกันโรคภูมิแพ้ที่เตียงนอน หรือ สิ่งตีพิมพ์ Toronto Globe and Mail ที่หน้าประตูห้องพัก หรือ เครื่องดื่ม Mountain Dew ที่ชุดเครื่องดื่มขนาดเล็กประจำห้องพัก การทำข้อตกลงกับลูกค้าในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ภารกิจที่ง่าย ๆ นัก การเพิ่มคุณค่าในเรื่องเหล่านี้ แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การเสนอโทรศัพท์ภายในท้องถิ่นฟรี หรือ ส่วนลดราคาในร้านขายของที่ระลึก จำเป็นต้องลงทุนใหม่ทั้งหมดในเรื่องเทคโนโลยี แน่นอนทุกรายละเอียดในเรื่องเหล่านี้ นำไปสู่บางสิ่งบางอย่างที่เพิ่มมูลค่า/คุณค่าที่มากกว่า ในปี คศ.1997 หุ้นของ Cannadian Pacific Hotels กระโดดขึ้นไปที่ร้อยละ 15 แม้ว่าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นไม่เกินกว่าร้อยละ 3 ก็ตามแต่ ในทุกไตร

ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

The Body Shop ในปี คศ.1976 Anita Roddick ได้เปิดร้านค้าขนาดเล็ก ๆ ที่หน้าร้านใน Brigthton สหราชอาณาจักรอังกฤษ ขายโลชั่นสำหรับผิวกาย ทุกวันนี้มีร้านค้าในเครือ เชิดหน้าชูตาไม่ต่ำกว่า 1,500 สาขาใน 47 ประเทศ บริษัททำการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ และใช้วัสดุหีบห่อน่าสนใจ จากวัตถุดิบที่นำมากลับมาใช้ได้อีก(Reycle) ส่วนผสมเครื่องสำอางจำนวนมาก มาจากพืชและจำนวนมากที่มาจากประเทศด้อยพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดไม่มีการใช้สัตว์ในการทดลองเครื่องสำอาง (ทดสอบว่ามีการแพ้หรือไม่กับเครื่องสำอางแต่ละชนิด) ขณะเดียวกันบริษัทก็มีส่วน ช่วยประเทศด้อยพัฒนาเหล่านี้ในทางการค้า มากกว่าพันธกิจที่จำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ด้วยเงิน เป็นการให้ความช่วยเหลือ เพื่อความสำเร็จร่วมกันของชุมชน ในการปกป้องอนุรักษ์ป่าฝน มีกิจกรรมที่ก้าวหน้ามากในกลุ่มสตรี ประเด็นในการป้องกันโรคเอดส์ และเป็นตัวอย่างในการใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ได้อีก แน่นอนก็เหมือนกับหลาย ๆ บริษัท ที่ต้องเผชิญหน้ากับความรับผิดชอบต่อสังคม และผลกำไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม The Body Shop ก็ต้องเผชิญหน้ากับ การตรวจสอบอย่างจริงจัง มีการตรวจสอบอย่างเข้

ไก่ ไก่ ไก่

Perdue Chicken Farms มียอดขายไก่เพียงอย่างเดียวมากกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ธุรกิจนี้มีกำไรค่อนข้างดีเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม รวมทั้งมีส่วนแบ่งรายได้ทางการตลาดหลักถึงร้อยละ 50 ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ในตลาดก็คือ ไก่ ไก่ และมีแต่ไก่ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สำหรับเจ้าของผู้ประกอบการคนแรก ผู่ที่มาสร้างสีสรรค์ในตลาดคือ Frank Perdue ผู้ที่มาพร้อมกับมีความเชื่อมั่นมากกว่า คำพูดของผู้บริโภคที่ว่า ไก่ก็คือไก่ ไก่ก็คือไก่ บริษัทดังกล่าวจึงมุ่งเน้นไปที่การผลิตไก่ ที่มีคุณภาพ และเนื้อที่มีรสชาติที่ดี ทำให้ผู้บริโภคยอมจ่ายในราคาที่สูงกว่า บริษัทนี้ควบคุมตั้งแต่การผสมสายพันธุ์ อาหารสำหรับไก่ เพื่อผลิตไก่คุณภาพ ไก่ที่ไร้สารเคมีหรืออาหารที่ปนเปื้อน สารสเตียรอยด์(สารสร้างกล้ามเนื้อและเร่งโต) ตั้งแต่ปี คศ.1971 มีโฆษณาเกี่ยวกับผู้ก่อตั้ง Frank Perdue มีคำบรรยายที่ว่า ใช้คนที่อดทนสำหรับสร้างไก่ที่อ่อนโยน กลายเป็นสัญญลักษณ์ของบริษัทแต่นั้นมา หลังจากปี คศ.1995 Frank Perdue ก็ก้าวลงจากตำแหน่งประธานบริษัท มอบให้ลูกชายของเขา Jim ขึ้นมาบริหารกิจการแทน โฉมหน้าการโฆษณาก็มีการเปลี่ยนแปลง

Web TV ผิดช่องทางการตลาด

Web TV มันเหมือนฝันที่เหลือเชื่อ เมื่อทีวีมีกล่องสี่เหลี่ยมพิเศษอยู่ด้านบน ที่ให้ดูทีวีไปด้วยและค้นหาข้อมูลใน www. ไปด้วยในเวลาเดียวกัน ด้วยการทุ่มทุนโฆษณาอย่างมโหฬารกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา จาก กลุ่ม Web TV ,Sony และ Philips Electrocity มีสมาชิกที่สนใจสมัครไม่เกินกว่าห้าหมื่นนาย ไม่มีอะไรที่ผิดพลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นี้ ในการแสดงข้อมูลอินเตอร์เน็ทบนจอทีวี แต่สำหรับผู้ริเริ่มคือ Web TV (ซึ่งในตอนนี้เป็นของ Microsoft แล้ว) ไม่เข้าใจการตลาด ปัญหาคือ การสื่อสารผิดช่องทางการตลาด ผู้ชมทีวีต้องการความบันเทิง แต่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการความเป็นส่วนตัว ในการค้นหา www. บนจอ PC ขนาดทั่วไป ความยากลำบากในการแข่งขันกับ TV คือ การเข้าถึง www. ยังล่าช้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และต้องเป็นเรื่องเฉพาะผู้ที่สนใจในเรื่องนั้น เมื่อเทียบกับการชมภาพยนต์ Star Treck หรือ Baywatch ที่ฉายให้ชมซ้ำ (ทำได้รวดเร็วและคมชัดกว่า) ดังนั้น การโฆษณาจึงมีการปรับปรุงใหม่ เน้นไปให้ความสำคัญในเรื่อง การบันเทิงพร้อมกับการศึกษาแทน เรียบเรียงจาก Marketing Management ของ Philip Kotler

วัฒนธรรมที่ไร้จริยธรรม

Enron กับการสร้างวัฒนธรรมที่ไร้จริยธรรม Eron Corp., ในปีคริสตศักราช 2001 เดือนธันวาคม กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ล้มละลาย ที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่เพียงแค่การลงรายการบัญชีที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นหลักของความพินาศ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมที่ผลักดันให้ผู้บริหาร มีพฤติกรรมที่ไร้จริยธรรม ในยุคที่รุ่งโรจน์ของบริษัทช่วงปลายปีคริสตศักราช 1990 สื่อมวลชนต่างยกย่องบริษัทในเรื่อง วัฒนธรรมของการเป็นผู้ประกอบการ ความเฉลียวฉลาด การโอ้อวด ความคิดสร้างสรรค์ และการชอบเสี่ยงภัย แต่หลังจากการชันสูตรพลิกศพของบริษัทแล้ว จากการการวิเคราะห์กันแล้วพบว่า มีวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปคือ การไม่สนใจต่อการเติบโตของรายได้ และความคิดริเริ่มของบุคคลในองค์การ บริษัทไม่ยอมรับรู้ในเรื่องแง่มุม ที่บาดใจจริยธรรมของบริษัท เพราะอะไร 1. มีแรงกดดันต่อผู้บริหารในการทำตัวเลข 2. มีการไม่เข้มงวดในเรื่องตัวเลขว่ามีที่มาอย่างไร 3. มีการสร้างพนักงานประเภท ชอบครับพี่ ดีครับนาย เหมาะสมครับท่าน ภายในวัฒนธรรมของผู้บริหาร พนักงานต่างหวาดกลัวที่จะพูด ใ

ระบบราชการตายแล้ว

ระบบราชการตายแล้ว ข้อสรุปดังกล่าวผิด เพราะคุณลักษณะของระบบราชการบางแห่งกำลังเพิ่มมากขึ้น และสามารถผ่านพ้นภาวะการเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยหลุดพ้นจากความตายได้ ระบบราชการมีคุณลักษณะแบ่งตามลำดับชั้น มีรูปแบบที่แน่นอน แบ่งตามแผนกงาน รวบอำนาจอยู่ศูนย์กลาง มีสายการบังคับบัญชาที่ใกล้ชิด และสนับสนุนต่อสายการบังคับบัญชา คุณลักษณะดังกล่าว ไม่ปรากฎในทุกวันนี้แล้วหรือ? ในองค์การสมัยใหม่? ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะมีการเพิ่มขึ้นของทีมงานที่มีอำนาจมากขึ้น และโครงสร้างที่แบบราบลง เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ 1. ขนาดที่ใหญ่กว่าได้เปรียบกว่า องค์การหลายแห่งที่ประสพความสำเร็จและอยู่รอด มีแนวโน้มที่นำไปสู่ขนาดที่ใหญ่กว่า และระบบราชการจะมีประสิทธิภาพในขนาดที่ใหญ่ องค์การขนาดเล็กหลายแห่ง และโครงสร้างแบบไม่อิงระบบราชการอีกหลายแห่ง ต่างก็เริ่มล่มสลาย ระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น องค์การขนาดเล็กต่างมาแล้วก็จากไป (ตั้งง่าย/เลิกง่าย) แต่องค์การขนาดใหญ่ยังคงอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะที่ค่าเฉลี่ยของธุรกิจทุกวันนี้ ต่างมีจำนวนพนักงานน้อยกว่าเมื่อสามปีก่อน แต่ขนาดที่น้อยกว่าดังกล่าว ก็มีส่วนงานที่เพิ่มมากขึ้นเป็นองค์การที่ความหลากหลา

ลดการสูญเสีย

Dexter มีหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรดีที่สุด และเป็นที่นิยมมากที่สุดคือ ซองกระดาษทีใส่ใบชาหรือกาแฟ ที่ใช้ชงในน้ำร้อนกันการหลุดลอด ออกมาเจือปนของผงชาหรือกาแฟ แต่ก็มีโชคร้ายเช่นกันคือ จากรายงานประจำปีของบริษัทพบว่า มีอัตราการสูญเสียอย่างมากของวัตถุดิบ เป็นประเภทกระดาษกว่าร้อยละ 98 ในกระบวนการผลิต/สายการผลิต ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มลูกค้าก็ตามแต่ แต่นี้ก็ัยังเป็นภยันตรายต่อสภาพแวดล้อมขององค์การ ที่จะต้องได้รับการแก้ไข จึงได้มีการมอบหมายภาระกิจหลัก ในการแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้กับ ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และฝ่ายการตลาด เพื่อร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลของความสำเร็จครั้งนี้ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น และลดความสูญเสียที่ร้ายแรง ของกระบวนการผลิต/สายการผลิต ลงได้ เรียบเรียงจาก Marketing Management ของ Philip Kotler

เครื่องสำอางทุกสีผิว

Estee Lauder ยักษ์ใหญ่ในวงการเครื่องสำอาง หลังจากผลสำรวจสำมโนครัวประชากรในปี 1990 ทำให้นักการตลาดเริ่มสนใจชนกลุ่มน้อย ที่เริ่มมีอำนาจซื้อมากขึ้น ทำให้บริษัทมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มอัฟริกาอมริกัน(คนผิวดำ) ด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับกลุ่มผิวสีคล้ำกว่า ซึ่งปรากฎว่าหลังจากปลายปี 1992 สาขาของบริษัทต่างได้นำเสนอให้ มีการผลิตเครื่องสำอางสำหรับทุกชนทุกสีผิว ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายลูกค้า มีความแตกต่างของเฉดสีกว่า 115 สี ผู้บริหารระดับอาวุโสของกลุ่มสร้างสรรค์ตลาด ได้รับการยกย่อง/ยอมรับว่า เครื่องสำอางสำหรับทุกสีผิว ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของยอดขายกว่าร้อยละ 45 ตั้งแต่เริ่มสายงานผลิตแบบใหม่ เรียบเรียงจาก Marketing Management ของ Philip Kotler

ผลิตภัณฑ์เหนือชั้นด้วยราคาที่ต่ำกว่า

Texas Instruments หนึ่งในบริษัทชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ผู้สนับสนุนเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ การตัดราคา เหมือนกับปรัชญาแรกเริ่มของ Henri Ford ในยุคคริตศักราชปี 1900 ที่ขยายตัวรุกเข้าไปในตลาดรถยนต์ บริษัทที่กล่าวนี้จะใช้ความพยายามทุกอย่าง ในเรื่องการสร้างผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเทคโนโลยีทุกอย่าง เพื่อทำให้ราคาต่ำลง ด้วยการทำให้ราคาที่ต่ำกว่า นำไปสู่การตัดราคาที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน และขยายตัวเข้าไปแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในตลาด ในฐานะพยายามเป็นผู้นำที่สร้างความสำเร็จ/ และสร้างจุดยืนที่มีทำให้มีอิทธิพลเหนือกว่าตลาดเป้าหมาย ประสบการณ์ดังกล่าวเป็น กุญแจสำคัญในเชิงกลยุทธของบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่ง เรียบเรียงจาก Marketing Management ของ Philip Kotler