บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2006

ห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคล

ปัญหาการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคล การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคล ซึ่งตามกฎหมายคือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงจะได้แต่กิจการที่ทำนั้นได้ [i] แยกเป็นนิติบุคคลสองประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (นิติบุคคล) ซึ่งผู้ถือหุ้นทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินร่วมกัน [ii] และห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งแบ่งผู้ถือหุ้นออกเป็นสองประเภทคือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด [iii] แต่ก็มีข้อควรพิจารณาถึงปัญหาการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคลที่ควรพิจารณาเบื้องต้นคือ.- การจดทะเบียนก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่ำคือ ไม่เกินกว่าห้าพันบาท ในวงเงินก่อตั้งห้าง ซึ่งสามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเองที่ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าในแต่ละจังหวัด หรือจดทะเบียนที่ส่วนกลาง(กรุงเทพมหานคร) หรืออาจจะว่าจ้างสำนักงานบัญชีหรือสำนักงานทนายความไปดำเนินการแทนได้ โดยมีค่าใช้จ่ายอีกต่างหาก เมื่อจดทะเบียนแล้ว หากมีทรัพย์สินที่ซื้อมาก็เป็นกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ก็จะมีป

รื้อทิ้งเพื่อสร้างสรรค์

ในปี 1942 โจเซฟ ชุมปีเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ ได้เสนอวิสัยทัศน์ในบทความเกี่ยวกับระบบทุนนิยมว่า ในการปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ นวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิม อย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ(แบบรุนแรง) โดยการคิดค้นของผู้ประกอบการหลายราย จะเป็นแรงกดดันสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แม้ว่าในขณะเดียวกัน มันก็ทำลายล้างกิจการของธุรกิจหลายกิจการ ที่มัวแต่พอใจกับอำนาจการผูกขาดมายาวนาน มีหลายบริษัทที่มักจะปฏิวัติตนเอง และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแนวใหม่ ต่างจากธุรกิจเดิมของตนเอง เช่น ซีร๊อก (เครื่องถ่ายเอกสาร) โพราลอย (ภาพถ่ายเร่งด่วน) เมื่อตระหนักว่า ธุรกิจของตนเริ่มมีกำไรที่ลดลง พร้อมกับส่วนแบ่งตลาดที่ต่ำลง เมื่อคู่แข่งขันเริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบสินค้าหรือลดต้นทุนการผลิต บริษัทเหล่านี้จะเริ่มทำการลดต้นทุนการผลิตของตนเอง ให้สินค้าราคาต่ำลงกว่าคู่แข่งขัน มีผลทำให้แย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่งขันที่อ่อนแอกว่า หรือมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่า จนทำให้คู่แข่งต้องเลิกธุรกิจนี้ไปเลย หรือเปลี่ยนไปผลิตสินค้าอื่นแทน ขณะที่ธุรกิจเดิมของตนยังได้รับประโยชน์ จากการขายสินค้าแบบเดิม การรื้อทิ้งเพื่อสร้