บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2015

ขอค่าจ้างเพิ่มในเวลาที่เหมาะสม

คนส่วนใหญ่มักจะขอค่าจ้างเพิ่ม ในช่วงทบทวนผลปฏิบัติงานตอนปลายปี ในช่วงเวลาที่ผู้บังคับบัญชาต้องจมปลักอยู่กับ ความกดดันเรื่องการประเมินผลงานพนักงาน ให้ใช้เวลาร้องขอในช่วงเวลาที่เหมาะสม ช่วงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่การงาน ควรสอบถามเพิ่มเติมก่อนเข้าไปรับผิดชอบเรื่องใหม่ หรือขอให้ตรงประเด็นหลังเสร็จสิ้นโครงการ ถ้าได้สร้างคุณค่า/มูลค่าให้กับบริษัท มันก็ถึงเวลาแล้วที่จะพูดว่า " บริษัทเราจะแบ่งปันมูลค่า/ผลลัพธ์กันบ้างได้ไหม " ถ้ายิ่งคุณได้รวบรวมหลักฐาน เกี่ยวกับผลงานของคุณ และมีตัวเลขเป้าหมายที่เหมาะสมในใจ คุณมีแนวโน้มที่จะได้รับสิ่งที่คุณต้องการ ให้มองไปข้างหน้า อย่ามองย้อนหลัง เรื่องที่คุณต้องการเน้นผลงานในภายหน้า คุณควรระบุสาระสำคัญเรื่องที่คุณจะโลดเล่นต่อไป แต่ถ้าเจ้านายดูเหมือนไม่ค่อยสนใจรับรู้ แนะนำให้ทบทวนเน้นย้ำเรื่องนี้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และให้เจ้านายระบุไว้ในปฏิทิน/งานที่ต้องทำ The Management Tip of the Day from Harvard Business Review May 29, 2015 The Right Time to Ask for a Raise Most people make their pitch for a raise at revie

ถามรายละเอียดถ้าไม่เป็นธรรม

ถามเจ้านายให้ช่วยติชมแนะนำ เรื่องที่คุณเชื่อว่า ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรม การจัดการสถานการณ์ที่ดีสุดคืออะไร แน่นอนคุณต้องไม่ตอบโต้และปฏิเสธทันที ให้ใจเย็น ๆ และให้ความไว้เนื้อเชื่อใจเจ้านาย เรื่องแรกคือ ต้องมั่นใจว่าเข้าใจเรื่องที่ถูกติชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม " มีเรื่องอะไรที่ลูกค้ายังไม่พอใจ เรื่องที่เจ้านายคิดว่า ผมยังไม่เข้าใจหรือไม่รู้เรื่องนี้หรือไม่ " สอบถามวิธีการที่จัดการได้ดีกว่า " ทำอย่างไรในการตอบข้อร้องเรียนได้ดีกว่า " หรือ " มีวิธีการจัดการเรื่องนี้ให้ดีกว่าอย่างไร " ลองค้นหาตัวอย่างที่ทำได้ดี " เรื่องที่ได้ยินได้ฟังมา เรื่องเชิงบวก ในการจัดการข้อร้องเรียนลูกค้า " ขุดคุ้ยข้อมูลเชิงลึก " เจ้านายยังคิดว่า ผมยังดูแลลูกค้าไม่เพียงพอ หรือเรื่องนี้เป็นเรื่องพิเศษเป็นเรื่องที่เจ้านายกังวล " The Management Tip of the Day from Harvard Business Review May 28, 2015 Ask for More Details If You Get Unfair Feedback Say your boss gives you feedback that you believe is wrong and unfair. What’s the b

ทำเรื่องราวธุรกิจให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

เรื่องราวธุรกิจที่ประสบชัยชนะในเรื่องต้นทุน จะบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าจดจำได้ เรื่องแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการจดจำเพื่อการตัดสินใจ และทำให้ความคิดโลดแล่นโดดเด่น ให้ลองคิดว่า เรื่องราวธุรกิจเหมือนนวนิยาย มีการผจญภัยที่มีบริษัทเป็นตัวเอกของเรื่อง บอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เรื่องความจำเป็นทางธุรกิจ หรือการทำตามสถานะการณ์ เพื่อยึดกุมโอกาสตามจังหวะและเวลา ลงมือเขียนเรื่องราวตามความคิด สร้างเรื่องราวก่อนระบุกลยุทธ์ ความต้องการหรือโอกาสที่ต้องการ วางแผนผังความคิดออกมา เป็นรูปร่างเรื่องราวเชิงกลยุทธ์ ที่สนับสนุนวัตถุประสงค์/เป้าหมายองค์การ เมื่อได้ทำการบ้านเสร็จแล้ว จะสามารถเข้าใจเค้าโครง/วิธีการ และอธิบายความสำคัญเรื่องนี้ได้ ในขั้นตอนสุดท้าย ให้อธิบายถึงผลประโยชน์ ที่จะได้รับในเรื่องของต้นทุน พยายามทำให้เห็นเป็นรูปตัวเงิน หลีกเลี่ยงเป้าหมาย/ประโยคที่คลุมเครือ เช่น "ลูกค้าพึงพอใจ " "ลดต้นทุน" หรือ " ลดพิเศษ " ให้ระบุเฉพาะ: " ลดการคืนสินค้า 10% จะประหยัดถึง $300,000 "

การติดตามผลคือประสิทธิภาพการฝึกสอน

ผู้จัดการจำนวนมากไม่มีการติดตามผลหลังการฝึกสอน เพราะคิดว่าได้ใช้เวลาทุ่มเทไปอย่างมากแล้วในคราวนั้น อย่างไรก็ตามแต่ ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ถ้ามันไม่ได้เกิดประสิทธิผล เรื่องจำเป็นคือ ต้องติดตามความคืบหน้าของพนักงาน ไม่จำเป็นต้องจดจำทุกเรื่องที่เห็น ได้ยิน ได้ฟัง และคิดในระหว่างการสนทนาพูดคุย แต่ให้จดบันทึกย่อในเรื่องเหล่านั้น บันทึกย่อที่ดีจะช่วยในการติดตามเป้าหมาย สังเกตความก้าวหน้าเจริญเติบโตพนักงาน และการให้คำติชมที่มีความหมายมากขึ้นในอนาคต ให้สร้างแบบมาตรฐานที่สามารถเพิ่มเติมข้อมูลในแต่ละครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นการสรุปแต่ละครั้ง ให้ลองถามตนเองว่า: ผมสามารถทำอะไรที่สนับสนุนการพัฒนาพนักงานคนนี้ ในตอนนี้กับคราวหน้าที่พบกันในการฝึกสอน อะไรที่ได้เรียนรู้จากการประชุมครั้งนี้ อะไรที่ยังไม่รู้และต้องทำต่อไปในวันหน้า อะไรที่คนที่ผมฝึกสอนได้เรียนรู้ มีเรื่องสำคัญอะไรบ้าง ที่จะสอนเสริมเพิ่มเติมในคราวหน้า The Management Tip of the Day from Harvard Business Review May 26, 2015 Make Coaching More Effective by Following Up Too many

ถึงเวลาแล้วที่จะฆ่าโครงการผีดิบดูดเลือด

โครงการผีดิบดูดเลือด(ซอมบี้)คือโครงการที่ล้มเหลว ไม่เป็นไปตามคำมั่นสัญญาหรือกลับไปกลับมา สิ้นเปลืองดูดกลืนทรัพยากรไปเรื่อย ๆ ไม่จบไม่สิ้น โครงการแบบนี้มักเกิดขึ้นจากการใช้อารมณ์ความรู้สึก และคนทำงานมักจะใช้วาทะกรรม/ความรู้ตอบโต้ เมื่อโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ควรทำให้ทีมงานมีการทบทวนเรื่องนี้ด้วยเหตุด้วยผล ให้ทำเรื่องงานนี้มีความชัดเจนและมีแนวทางที่ต้องการ หรือฆ่าโครงการนี้ทิ้งไปเลย ด้วยการพิจารณาตอบคำถามเหล่านี้: มีตลาดจริงหรือไม่ จำเป็นจริง ๆ หรือไม่ เราสามารถให้ลูกค้าได้ดีกว่าคู่แข่งหรือไม่ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์/เป้าหมายทางการเงินหรือไม่ ถ้ายังเป็นเรื่องยากที่จะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้าย แนะนำให้นำบุคคลที่สาม/คนภายนอกโครงการผีดิบดูดเลือด เช่น คนจากฝ่ายอื่น หรือ แม้แต่คนภายนอกบริษัท มาให้น้ำหนัก/เปรียบเทียบโครงการผีดิบ การช่วยทำให้คนภายใน ยอมรับข้อสรุปของโครงการ โดยเน้นย้ำเรื่องที่เรียนรู้ไปพร้อมกัน แล้วลงมือระงับโครงการผีดิบดูดเลือดไปเลย หลังจากมองเห็นภาพรวมหลังการเรียนรู้ แล้วสร้างฐานข้อมูล/องค์ความรู้ เพื่อจัดเก็บไว้ในองค์การและแบ่งปั

ใช้สัญลักษณ์เอาชนะความสนใจผู้คน

ความสำเร็จของคนเราจะขึ้นอยู่กับ การเอาชนะความสนใจของผู้คน หากทีมงานไม่ตั้งใจจะรับฟังเรื่องที่พูด ทำอย่างไรจึงจะทำเรื่องนี้ให้มีประสิทธิภาพ ถ้าไม่ได้รับความสำคัญจากลูกค้า ทำอย่างไรธุรกิจจึงจะอยู่รอดได้ กลเม็ดเด็ดพลายนี้ใช้เรียกร้องให้คนสนใจ อัตโนมัติ สัญลักษณ์ทางประสาทสัมผัส เช่น เสียงดัง สีสดใส และอุณหภูมิต่าง ๆ ทำใ้ห้คนเราเกิดความสนใจอย่างอัตโนมัติ แต่ไม่ได้หมายความว่า ต้องตะโกนเสียงแหบเสียงแห้ง ให้ลองคิดหาวิธีเกี่ยวกับ การใช้สัญชาตญาณเหล่านี้ โดยหารายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การให้ดาวในในวาระพิเศษต่าง ๆ หรือเชิญร่วมดื่มน้ำชากาแฟ การรบกวน/ขัดจังหวะ คนเรามักจะให้ความสนใจ เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มากวนใจ เช่น ลองสร้างเรื่องแปลกใจเชิงบวก ให้กับเจ้านาย ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน ลองถามคำถามที่ไม่คาดคิด ทำงานเสร็จก่อนเส้นตาย หรือพูดคุยขณะเดินเล่นกัน รางวัล แรงจูงใจที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ มีผลกระทบต่อความสนใจของคนเรา ดังนั้น เมื่อกำลังเสนอสถานที่พักผ่อน หลังเสร็จสิ้นโครงการขนาดใหญ่ ไม่ใช่แต่เพียงประโยคบอกเล่า แต่ให้นำเสนอภาพถ่ายสถานที่นั้นด้วย T

อย่าปิดบังเรื่องที่ชื่นชอบหลงใหล

ในที่สุดคนเรามักจะค้นพบ เรื่องที่ต้องการสำหรับชีวิตตนเอง เริ่มก่อตั้งบริษัท เปิดเว็บไซต์ ออกแบบ app หรือทำงานในธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไร ปัญหาอย่างเดียวที่สำคัญคือ คุณไม่สามารถจะลาออกจากงานประจำได้ เพราะจะสูญเสียผลประโยชน์หลายอย่างไป ทั้งยังเรื่องการติดตามเรื่องงานอย่างเต็มเวลา มีหลายคนติดตามงานที่ชื่นชอบหลงใหล ด้วยการปิดบังเรื่องเหล่านี้ไว้ แต่ในขณะที่เพื่อนร่วมงานชักจะคลางแคลงใจ มักคิดว่างานแบบนี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ในหลายกรณี ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นความลับมากเกินไป แต่ต้องให้แน่ใจว่า งานนี้ไม่มีผลกระทบต่องานประจำวัน แน่นอน การให้ความสนใจที่ดีที่สุดคือ ความโปร่งใส บอกเรื่องอย่างตรงไปตรงมา เกี่ยวกับเรื่องภายนอกที่สนใจ เพื่อลดทอนความสงสัยของคนภายใน แล้วให้คำมั่นสัญญาว่า เรื่องนี้จะทำให้ตนเองเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น และจะทุ่มเทแบบหมดหน้าตักในเรื่องนี้เป็นการส่วนตัว ในการพูดบอกเล่ากับคนอื่น เน้นย้ำว่ากรอบแนวคิดเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์กับบริษัท เช่น กำลังเรียนรู้เรื่องใหม่ที่สามารถนำมาใช้งานได้ เพื่อนร่วมงานยังสามารถเป็นพันธมิตร และเสนอความคิดเห็นที่

ฝึกสอนพนักงานให้มีความคิดสร้างสรรค์

ในขณะที่ความคิดสร้างสรรค์หล่อหลอมได้ 100% แต่บุคลิกภาพที่มีมาแต่เดิมมีขีดจำกัด(เปลี่ยนแปลงแยก) ความคิดสร้างสรรค์สามารถหล่อหลอมไ้ด้ ด้วยการแทรกแซงอย่างจงใจ ด้วยการใช้เวลาที่ยาวนานอย่างเฉพาะเจาะจง ถ้ากำลังพยายามที่จะสอนให้คนเรา ให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น การให้มีข้อเสนอแนะพร้อมการตอบกลับจำนวนมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการช่วยลดช่องว่างในองค์การ เกี่ยวพันกับความเชื่อมั่นของพวกเขาและความสามารถของแต่ละคน คนเราถ้าไม่ได้รับข้อเสนอแนะ/ข้อมูลตอบกลับมา หรือถูกละเว้นในเรื่องแบบนี้ ท้ายที่สุดแล้วก็จะจบลง เรื่องความคิดสร้างสรรค์ภายในจิตใจของแต่ละคน นอกจากนี้ยังสามารถให้การฝึกอบรมความคิดสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น สอนให้คนเราตรวจหาแนวคิดจากนวนิยาย ทำงานที่ท้าทาย หาความรู้จากคนภายนอกที่ความเชี่ยวชาญ/มืออาชีพ รวมทั้งความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำเลย จะสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้ แต่เรื่องหนึ่งที่มีวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการปลดปล่อยศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ เพียงกำหนดให้พนักงานได้ทำในเรื่องที่ชื่นชอบ จะสามารถเพิ่มแรงจูงใจ แรงจูงใจที่เกิดขึ้นในใ

การฝึกสอนที่มีประสิทธิภาพต้องมีความเหมาะสมด้วย

คนเราส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพราะสาเหตุที่ว่าทำไมถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง และคนเราจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ก็ต่อเมื่อพวกเขาเลือก/ตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง นี้คือสาเหตุที่การฝึกสอนสามารถสร้างปัญหาให้ได้ เพราะมักจะเป็นเรื่องต้องให้ทำมากกว่าเชื้อชวนให้ทำ เมื่อคนเรารู้สึกว่า มีบางสิ่งบางอย่างมาบังคับให้ต้องทำ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนเราเอง แต่ปฏิกิริยาธรรมชาติของคนเราคือ การต่อต้าน ดังนั้น ถ้ากำลังพยายามช่วยเหลือคนให้เปลี่ยนแปลง เรื่องที่ต้องพิจารณาในเรื่องแรกก็คือ ในการเข้าไปหาพวกเขาคือช่วยให้พวกเขาทำได้สำเร็จ มากกว่าไปเพิ่มความสลดหดหู่/ท้อถอยมากขึ้น ให้ตั้งใจ/สนใจในเรื่องคำถามคำตอบต่าง ๆ พูด/บรรยายในเรื่องงานให้น้อยลง งานหลักก็คือ การช่วยให้คนเราค้นพบ แล้วเพิ่มแรงจูงใจของพวกเขาที่มีอยู่แล้ว และในใจพวกเขาที่ตั้งใจลงมือทำอยู่แล้ว อย่าคิดว่าการฝึกสอน เสมือนบททดสอบเรื่องสัมภาษณ์ มากกว่าเรื่องการตักเตือนแนะนำ ยิ่งทำแบบนี้ ยิ่งทำให้ห่างไกลจากความสำเร็จมากขึ้น กับการช่วยให้คนเราเปลี่ยนแปลงได้ The Management Tip of the Day from Harv

ใช้ภาพง่าย ๆ ในการนำเสนอผลงาน

หลังจากสิ้นสุดการนำเสนอผลงาน ภาพจะทำให้ผู้คนจดจำได้มากกว่า ยิ่งการทำภาพให้ง่าย มีกราฟิก ไอคอน และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างแนวคิด ใช้คำที่สำคัญ ไม่เต็มประโยค และประเด็นเรื่องชี้นำ ไม่ใช่ตัวเลขมากมาย หรือเรื่องราวที่ไม่ปะติดปะต่อกัน ให้ยึดแนวคิดหลักเรื่องเดียวประเด็นเดียวเท่านั้น และไม่ควรมีข้อความเกินกว่าหกบรรทัดในแต่ละภาพนิ่ง หรือการเขียนบนกระดานฟลิปชาร์ตหรือไวท์บอร์ด ภาพทุกภาพไม่ใช่การนำเสนอ ให้คัดกรองอย่าติดในกับดักเรื่องเหล่านี้ เพราะอาจทำให้คนฟังคนชมว้าวุ่นใจ หรือทำให้พวกเขาง่วงเหงาหาวนอนได้ อย่ามีภาพนิ่งมากเกินไป อย่าสลับซับซ้อน ภาพที่สับสน เช่น แผนภูมิ กล่องจำนวนมาก ลูกศร การไหลวนกลับของลูกศร คำติชม ข้อความต่าง ๆ มากมาย บันทึกหมายเหตุของภาพ ที่เต็มไปด้วยข้อความ หรือภาพเยอะเกินไป อย่าเพียงแค่อ่านข้อความในภาพ The Management Tip of the Day from Harvard Business Review May 15, 2015 Use Simple Visuals in Your Next Presentation After a presentation ends, what usually sticks with people are the visuals. To make your visuals more compelling, ke

ใช้เวลาว่างระหว่างประชุมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กำหนดการเวลา ประชุมที่ยุ่งเหยิง มักจะ หมายความว่า  คนเราจะ มีเวลา ว่าง  30 นาทีในช่วงก่อนหน้าประชุม ทั้ง วัน   แต่พวกเรามักจะ ไม่ สนใจหรือละเลยเรื่องนี้ ไป มักจะใช้เวลาไปกับการดื่ม กาแฟ  หรือ ตอบ อีเมล์ แต่จริง ๆ แล้วเรา สามารถ ยกประสิทธิภาพ ผลผลิต ในช่วง  30 นาที หรือในระหว่างนั้น สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพ ได้ขึ้น ถึง  25%  ของ วันธรรมดาปกติ ให้คิดเรื่องที่ แตกต่างในเวลาที่ไม่ได้ทำงาน(เว้นว่างไว้) เริ่มต้นด้วยการ ใช้ เวลาเพียงไม่ กี่ นาที แรก เติมเต็มช่องว่างในกำหนดการ/ ตารางเวลา เขียนเรื่อง ที่ ต้อง การ ทำลง ใน แต่ละ ช่องว่าง ปฏิทินงาน งานอะไรที่มีความสำคัญ/คุณค่าต่ำ ( รายงาน ค่าใช้จ่าย ) เพื่อจะได้ไปทำเรื่อง ที่ ใหญ่กว่า/สำคัญกว่า  เรื่องที่ คุณเคยรู้สึกว่าแย่มาก/หวาดวิตกมาก (เค้าร่าง งานนำเสนอผลงาน ของคุณ )  เพื่อ สร้างสรรค์งาน ที่ ต้องทำแน่นอน ในวัน หลัง   และ ใน ตอนท้าย ของ วันก่อนเลิกงานสัก   30 นาที ให้ขีดฆ่า/ระบุ หมายเหตุงาน ใดที่ทำเสร็จแล้ว The Management Tip of the Day from Harvard Business Review May 14, 2015 Be More Productive Between Meetings

จัดการลูกค้าชั้นเลว

บางครั้งลูกค้าไม่ได้ถูกเสมอไป ลูกค้าบางรายยกโทษให้ไม่ได้เลย น่ารังเกียจขยะแขยง หรือขอมากจนเกินไป ลูกค้าแบบนี้สามารถทำร้ายขวัญกำลังใจพนักงาน ทำให้ชื่อเสียงของบริษัทตกอยู่ในความเสี่ยง และพิสูจน์ได้ว่ามีต้นทุนสูงเกินไปที่จะให้บริการต่อไป เรื่องสำคัญคือต้องกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมของลูกค้า (ลูกค้าชั้นดี ชั้นกลาง ชั้นเลว) แลัวฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับลูกค้า หลังจากนั้น ให้พวกเขาทำหน้าที่เป็นแนวหน้า และทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาของบริษัท พวกเขาต้องตัดสินใจได้เลยว่า ลูกค้าแบบนี้ควรจะขายหรือให้บริการ และคนนี้ไม่ใช่ลูกค้าของเรา (ควรถีบออกไปไกล ๆ) บริษัทส่วนมากมักจะไม่ทำการอบรมพนักงาน ในเรื่องการเคารพสิทธิและตอบโต้ลูกค้าชั้นเลว ทำให้พนักงานต้องรับมือกับสถานะการณ์แบบทันทีทันใด ยิ่งถ้าพวกเขาตกอยู่ในวาทะกรรมห่วย ๆ "ลูกค้า คือ ราชา" แล้วพยายามทำให้ลูกค้ามีความสุขแบบไม่รู้จบรู้สิ้น ยิ่งสามารถทำลายพนักงานระดับล่างได้ ให้การสนับสนุน/ฝึกอบรมพนักงาน ด้วยการอธิบายพฤติกรรมของลูกค้าชั้นเลว ประเภทที่มีปัญหามากมาย/ปากหมา/ปากเสีย พร้อมสร้าง

ทำงานเร็วตอบกลับเร็วเหมือนงานประจำวัน

ผู้บริหารจำนวนมากไม่ได้ตอบกลับอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะความกดดันในเรื่องเวลาทำงาน แต่มีสามวิธีง่าย ๆ สำหรับผู้บริหารและพนักงาน: มีมาตรฐานในการติดต่อ ลดระยะเวลาในการไตร่ตรองในหัวข้อที่จะพูดคุย ด้วยหลักการง่าย ๆ เปิดให้มีการอภิปรายความคิดเห็นสม่ำเสมอ เช่น " ผมจะตอบกลับเรื่องความคิดเห็นในบางเรื่อง" หรือ " คุณจะเปิดโอกาสให้ผมแนะนำเรื่องนี้หรือไม่ " ให้ความสนใจในทันทีทันใด และใช้น้ำเสียงถ้อยคำที่เหมาะสม อย่าพูดแบบทื่อ ๆ ถ้าเคยพูดว่า " บางทีคุณอาจจะ..." หรือชอบถามพนักงาน " ให้คิดเกี่ยวกับ " ประเด็นปัญหาเรื่องเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ต้องอย่าพุดไปทื่อ ๆ ที่ม ๆ ในเรื่องแบบนี้ ต้องมีความซื่อสัตย์ จริงใจ และให้คุยกันเป็นการส่วนตัว ในขณะพิจารณาประเด็น ปัญหาเรื่องที่พูดคุยด้วย บอกให้พวกเขาพูดทบทวน ในการหลีกเลี่ยงเรื่องที่ต้องพูดคุยกันซ้ำแล้วซ้าเล่า ต้องแน่ใจว่าพนักงานสามารถอธิบาย/จดจำได้ ในเรื่องที่พวกเขาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง หรือจะต้องทำต่อไปได้อย่างชัดเจน The Management Tip of the Day from Harvard Business Review May 12, 2015

ให้พนักงานอีกซีกโลกข้างหนึ่งทำงานเหมือนกับทีมงาน

ความเข้าใจผิดพลาด ที่ใหญ่หลวงที่สุดคือ เรื่องการบริหารจัดการ ทีมงาน ที่ทำงานกันอยู่กันอย่าง กระจัดกระจายทั่วโลก จึงจำเป็นต้องใช้ทักษะที่ แตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง   เพราะการค วบคุม พนักงานที่ทำงาน ที่ทำงานใน โซน เวลา ที่ แตกต่างกัน เป็นเรื่อง ความท้าทาย ที่ ไม่ซ้ำแบบกันเลย เรื่อง สำคัญที่ต้องจด จำคือพนักงาน เหล่านั้น ยังคง ทำงาน ใน องค์กรเพื่อให้งานแล้วเสร็จเช่นกัน ผู้บริหารทั้งหลายจึง ไม่ควร คิดว่า พวกเขามีพื้นฐานการทำงานที่ แตกต่างกัน   ยิ่งเป็นเรื่อง จำ เป็น ต้อง ตั้ง ความคาดหวัง และ กฎเกณฑ์ เพื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันให้ เกิด ขึ้น ทั้งนี้เริ่มต้นด้วยการ เพิ่มเติม ความสำคัญ ในเรื่อง การเสริม สร้าง ความรับผิดชอบ ชัดเจน ตั้งเป้าหมาย รายเดือน   รายไตร มาส   และ ประจำปี รวม ทั้ง เป้าหมายประเภท  "สุดยอดไปเลย "  นั่นหมายถึงการร่วมลงเรือลำเดียวกันแล้ว ให้มีการพูดคุยเจรจากันเรื่องงานแบบตรงไปตรงมา มีการสร้างกำหนดการเวลาตรวจสอบผลความคืบหน้า พนักงานที่ทำงานในอีกซีกโลกข้างหนึ่งได้รับรู้ว่า ได้รับการปฏิบัติที่ไม่มีความแตกต่างกันและมีความเท่าเทียมกัน ทำให้ชัดเจนว่า

อย่าเลื่อนวันหยุดพักผ่อน

มีหลายเรื่องหลายราวที่ยังต้องทำ ดูไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้นสักที การวางแผนวันหยุดพักผ่อน มักจะเป็นเรื่องสุดท้ายในใจเรา แต่การทำตัวให้ห่างไกล จากหน้าที่การงานประจำวัน จะให้ โอกาสกับคนเรา ในเรื่อง ประสบการณ์ ใหม่   สร้างความผูกพัน กับ เพื่อน และ ครอบครัว   ช่วย ลด ความเครียด และ ได้สร้าง มุมมองใหม่ ๆ ผลการ ศึกษา ยัง ได้ให้คำ แนะนำ ว่า  การไม่ ใช้ วันหยุดพักผ่อน มีโอกาส เพิ่ม ความเสี่ยงต่อ สุขภาพ ให้ทำ เป็น เชิงรุก ในก ารวางแผน วันหยุดพักผ่อน วางแผนเสียแต่เนิ่น ๆ ตอนต้นปี แทนที่จะวางแผนตอนเกือบสิ้นปี เพราะถึงตอนนั้นแล้ว มักรู้สึกว่ามีงานอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ยังคั่งค้างต้องทำให้เสร็จ เพราะถ้าในอีก 20  ปีภายหลัง คนเรามักจะมีเรื่องราว ที่ต้องหวนคิดคำนึงคือ " ผม อยากที่ จะ..."   กับ " ผมดีใจมาที่ได้ ..."  พร้อมเรื่องราว/ประสบการณ์ต่าง ๆ The Management Tip of the Day from Harvard Business Review May 8, 2015 Don’t Put Off That Vacation With a seemingly endless number of things to get done, planning a vacation is often the last thing

ผู้นำควรซื่อสัตย์เกี่ยวกับความรู้สึกที่ไม่มั่นใจ

ผู้บริหาร จำนวนมาก เชื่อ ว่า  ความเชื่อมั่นที่แสดงออกมาทำให้เป็นที่น่า เชื่อถือ   นี่ คือ เหตุผล ที่บางครั้ง ผู้บริหารมักจะมีลังเลใจที่จะแสดงออกถึงความไม่มั่นใจ แม้ว่าในเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะทำนายผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นตามมา งานวิจัยได้ค้นพบว่า CEOs ที่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป มัก จะ ตัดสินใจในเรื่อง ที่ มีความเสี่ยงสูง มาก ก่อให้เกิดผลเสียหาย/ ค่าใช้จ่ายจำนวนมากกับ ผู้ถือหุ้น ดังนั้น  บริษัทที่ ยีดมั่นในเรื่องผล ประโยชน์ ส่วนได้เสียของผู้มีส่วนได้เสียทุกคน ถ้า ผู้นำ เริ่ม ยอมรับ ความไม่มั่นใจ และ เรียนรู้ ที่ จะ สื่อสาร กับ พนักงาน เปิดเผย เกี่ยวกับเรื่อง ที่ ไม่มั่นใจ จะช่วยในการ ตัดสินใจ ที่ ดีได้ และ ช่วยให้ ผู้อื่น เชื่อถือผู้นำได้ ในค รั้ง ถัดไป ที่ถ้า กำลัง เผชิญหน้า ในช่วงเวลา ของ ความไม่มั่นใจ แทนที่ จะ เน้นในเรื่อง ดี  หรือ เลว หรือ แม้แต่ความ เป็นไปได้   ให้คิดเกี่ยวกับทางเลือก ผลลัพธ์ที่เป็นไป ได้   บริษัทที่มักจะ ทำเช่น นี้ เมื่อต้องคำนึง ถึง รายได้ ของบริษัท ยิ่งใน ช่วง ที่ กำไร มี แนวโน้ม ลดลง   ผู้นำ ควร ใช้ เทคนิคแบบ นี้ให้ มากข

ขยายเครือข่ายสังคมนอกเหนือคนใช้งานทั่วไป

เรา ทุกคน รู้ดี ว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเรื่อง สำคัญ สำหรับ ความสำเร็จ   แต่มีพวกเราน้อยรายมากที่ อุทิศ เวลา อย่างเพียงพอที่ จะ ทำให้เกิด เป็นประโยชน์ ถ้า ปล่อยให้โอกาสนี้หลุดลอยไป เครือข่ายสังคมก็จะกลายเป็นเรื่องภายในองค์การ และไม่มีความแตกต่างหลากหลายเพียงพอ จึงเป็นเรื่องที่ จำเป็น ต้อง เรียนรู้ กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ภายนอก องค์กร ทีมงาน และกลุ่มปิดทั้งหลายที่มีอยู่ นี่ คือ ขั้นตอนการ ปฏิบัติบางอย่าง ที่จะนำไปสู่การ พัฒนา เครือข่ายสังคมที่ แข็งแกร่ง : เข้าเยี่ยมชมกลุ่มเครือข่ายสังคมตนเองก่อน ให้ลองคาดคะเนว่าทำไมคนรับผิดชอบ จะไม่ค่อยมีการนำเสนอข้อความ หรือผลิตภัณฑ์ และ บริการ ใหม่ ๆ จัดการเข้าร่วม ประชุม ใหม่ เริ่มต้นสร้าง  LinkedIn  หรือ  Facebook  กลุ่ม สอนใน หลักสูตร ที่ วิทยาลัยชุมชน แล้ว เรียนรู้ จาก นักเรียน/นักศึกษา ไปร่วมรับประทานอาหาร กลางวัน กับ เพื่อนที่ทำงานใน บริษัทคู่ แข่งขัน เพื่อ เรียนรู้ เพิ่มเติม เกี่ยวกับ คุณ ค่า การ ตลาด ของบริษัท เชื่อมต่อ กับคนที่ขาดการติดต่อไป แล้วลองถามว่า จะช่วยสร้างการสัมพันธ์ กับเพื่อนคนอื่น