อเมริกันชนเป็นโรคบ้างาน

อเมริกันชนเป็นโรคบ้างาน
ตั้งแต่ปลายปี คศ.1970 ถึงปลายปี คศ.1990
ค่าเฉลี่ยการชั่วโมงทำงานระหว่างสัปดาห์
ของมนุษย์เงินเดือนในสหรัฐ
เพิ่มขึ้นจาก 43 ชั่วโมงเป็น 47 ชั่วโมง
และจากนั้นในอีกหลายปีที่ผ่านมา
จำนวนคนทำงานที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง
หรือ มากกว่านั้นเพิ่มขึ้นจาก 24% เป็น 37%

สหรัฐอเมริกาได้นำหน้าประเทศญี่ปุ่น
ในการเป็นประเทศที่มีชั่วโมงการทำงานที่มากที่สุด
ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า

มีกลุ่มใดบ้างที่มีชั่วโมงทำงานที่มากที่สุด
กลุ่มนักบริหารและ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
ส่วนหนึ่งของเหตุผลคือ
ค่าเฉลี่ยของจำนวนชั่วโมงทำงานได้เพิ่มขึ้นเป็น 34%
จากปี คศ.1999 เมื่อเทียบกับเดิมที่มีเพียง 27% ในปี คศ.1997

ในกลุ่มของนักบริหารและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
สถิติชั่วโมงทำงานมีความแตกต่างอย่างชัดเจน
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในโลกนี้
ตัวอย่างเช่น ใน นอร์เวย์และสวีเดน
คนทำงานทั่วไปจะมีวันหยุด 4-6 สัปดาห์
และไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ในกรณีได้รับอนุญาตให้ลาไปเลี้ยงดูบุตร(ทำหน้าที่พ่อแม่)

ในฝรั่งเศส ชั่วโมงการทำงานตามกฎหมาย
สูงสุดไม่เกินกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก
ก็สมควรแล้วที่ชาวอเมริกันมีสิทธิที่จะไม่พึงพอใจ
เพราะทำงานเฉลี่ยมากกว่า 8 สัปดาห์ต่อปี
เมื่อนำชั่วโมงการทำงานมาเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศเหล่านี้

แต่สหราชอาณาจักร(อังกฤษ)
ที่เป็นข้อยกเว้นของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก
81% ของกลุ่มผู้บริหารทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงในสัปดาห์
และจำนวน 30 % ของกลุ่มผู้บริหารสูงสุด
ทำงานมากกว่าถึง 50 ชั่วโมงในสัปดาห์

71% ของกลุ่มผู้บริหารดังกล่าวเริ่มยอมรับว่า
ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน
มีผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพ
และจำนวน 68% ยอมรับว่า
ชั่วโมงทำงานที่มากเกินไป
มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
(การใช้ชิวิตในครอบครัวร่วมกับลูกและคู่สมรส)

สถิติดังกล่าวนำไปสู่ข้อสรุปสองข้อคือ

ประการแรก
เมื่อเทียบกับหลายประเทศแล้ว
อเมริกันชนมีชั่วโมงทำงานมากเกินไป
และเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้นในการบริหาร
ให้เกิดความสมดุลย์ระหว่าง
การใช้ชีวิตในการทำงาน
กับการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว

ประการที่สอง
เทคโนโลยีที่นำมาใช้งานมากขึ้น
มีผลต่อการต้องเพิ่มจำนวนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การทำงานของแรงงานดังกล่าว
ทำให้สามารถคาดได้เลยว่า
จำนวนชั่วโมงที่ยาวนานขึ้น
มีผลต่อการบริหาร/การจัดการความขัดแย้ง
ระหว่างระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว


เรียบเรียงจาก"America'sWorld-Class Workaholics,"Manpower Argus,April 2000,pp4-5

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บ้านรังนกนางแอ่น(กินรัง)

เรื่องเล่าจากคนทำป้ายสุสานจีน

ขอโทษทันทีเมื่อส่งอีเมล์ผิดพลาด