วัฒนธรรมที่ไร้จริยธรรม

Enron กับการสร้างวัฒนธรรมที่ไร้จริยธรรม

Eron Corp., ในปีคริสตศักราช 2001 เดือนธันวาคม
กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ล้มละลาย
ที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา
ไม่ใช่เพียงแค่การลงรายการบัญชีที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น
แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นหลักของความพินาศ
แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งก็คือ
วัฒนธรรมที่ผลักดันให้ผู้บริหาร มีพฤติกรรมที่ไร้จริยธรรม

ในยุคที่รุ่งโรจน์ของบริษัทช่วงปลายปีคริสตศักราช 1990
สื่อมวลชนต่างยกย่องบริษัทในเรื่อง
วัฒนธรรมของการเป็นผู้ประกอบการ
ความเฉลียวฉลาด การโอ้อวด
ความคิดสร้างสรรค์ และการชอบเสี่ยงภัย

แต่หลังจากการชันสูตรพลิกศพของบริษัทแล้ว
จากการการวิเคราะห์กันแล้วพบว่า
มีวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปคือ
การไม่สนใจต่อการเติบโตของรายได้
และความคิดริเริ่มของบุคคลในองค์การ
บริษัทไม่ยอมรับรู้ในเรื่องแง่มุม
ที่บาดใจจริยธรรมของบริษัท เพราะอะไร

1. มีแรงกดดันต่อผู้บริหารในการทำตัวเลข

2. มีการไม่เข้มงวดในเรื่องตัวเลขว่ามีที่มาอย่างไร

3. มีการสร้างพนักงานประเภท ชอบครับพี่ ดีครับนาย เหมาะสมครับท่าน
ภายในวัฒนธรรมของผู้บริหาร พนักงานต่างหวาดกลัวที่จะพูด
ในสิ่งที่คลางแคลงใจและยังสงสัย เพราะกลัวว่าจะมีผล
ต่อการประเมินผลการปฎิบัติงาน และจำนวนเงินโบนัสที่จะได้รับ

4. เงินโบนัสและเงินทั้งหลายเป็นพระเจ้าที่ไร้ขีดจำกัด
บริษัทตั้งเป้าและให้รางวัลกับพนักงานด้วยคุณค่าของเงิน เงินคือสรณะ (สรณัง ธนทรัพย)
Jeff Skilling ซึ่งเป็น CEO สร้าง Enron ด้วยวัฒนธรรมตีตราใบหน้าของพนักงานทุกคน
ด้วยทุภาษิตที่ว่า ทุกเรื่องราวคือเงิน เงินซื้อความซื่อสัตย์ได้

5. แม้ว่าผู้จัดการหลายคนต่างคาดหวังการทำงานเป็นทีม
แต่วัฒนธรรมที่ปรากฎอย่างแท้จริงคือ ดาวเด่นของทีมงาน
มีการจ่ายผลตอบแทนต่ำมากสำหรับทีมงานหรือการสร้างทีมงานในบริษัท
บริษัทจะให้รางวัลอย่างมากสำหรับพนักงานที่แข่งขันกัน
ในเรื่องการไม่แบ่งปันอำนาจ ความรับผิดชอบ และข่าวสารข้อมูล

6. บริษัทยินดีที่จะรับฟังแต่เรื่องดี ๆ เท่านั้น
ในเรื่องการเติบโตของบริษัท
ผลักดันให้ผู้บริหารทุกคน
ต่างหาทางที่จะพบแต่เรื่องดี ๆ เหล่านี้
เหมือนกับข่าววงในที่ว่า
บริษัทต้องการผู้บริหารระดับสูง
เพื่อบอกกับสาธารณชนว่า
ราคาหุ้น คือ สิ่งที่สำคัญที่สุด
ได้รับปัจจัยจากรายได้
และใครก็ตามที่จัดหารายได้อย่างรวดเร็ว
จะได้รับการสนับสนุนและเลื่อนชั้นเร็วมาก

อดีตพนักงาน Enron คนหนึ่ง
สรุปเกี่ยวกับวัฒนธรรมดังกล่าวว่า

"ถ้าเจ้านายของคุณห่วยแตก
และคุณก็ไม่เคยผ่านงานจากที่อื่นมาก่อน
คุณก็น่าจะรับรู้ได้เช่นกันว่า
ทุกคนต่างมีรายได้จากการทำงานที่ห่วยแตก

แต่เมื่อใดที่คุณยืนขึ้นมาและต่อต้านเรื่องเหล่านี้
คุณก็จะถูกไล่ออก

แม้ว่ามันเป็นเรื่องที่น่าละอายเช่นกัน
เพราะมันง่ายที่จะทำงานและพูดว่า
ทุกคนก็ทำอย่างนี้แหละ
และมันก็เป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่หรือ(ไม่เลวเช่นกัน)"

เรียบเรียงจาก Organization Behavior ของ Stephen P. Robbins (Tenth Edition) page 539

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บ้านรังนกนางแอ่น(กินรัง)

เรื่องเล่าจากคนทำป้ายสุสานจีน

ขอโทษทันทีเมื่อส่งอีเมล์ผิดพลาด