win win ชนะ ชนะ

Bailey Controls สำนักงานใหญ่ที่ Ohio
มีรายรับ 300 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
สำหรับการผลิตระบบควบคุมโรงงานขนาดใหญ่
Bailey Controls ปฏิบัติต่อคู่ค้าบางรายของตน
เสมือนหนึ่งเป็นหน่วยงานภายในของบริษัทนั้นเลย

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการต่อสายตรงเข้ากับคู่ค้า
ด้านระบบการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกันจำนวนสองราย
เช่น ทุกสัปดาห์จะมีการส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายโดยตรง
ไปยังบริษัท Future Electronics ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ที่ Montreal

มีข้อมูลประมาณการขั้นต่ำสุดของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้
ในการผลิตในอีกหกเดือนข้างหน้า
เพื่อให้ทาง Future Electronics
จัดหาและเตรียมสต็อค(สินค้าคงคลัง)ไว้ล่วงหน้า
เมื่อไรก็ตามที่จำนวนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตลดลง
ต่ำกว่าจุดที่ต้องตัดสินใจสั่งซื้อแล้ว
พนักงานของ Bailey Controls จะยิงบาร์โค้ด
ที่แถบติดบนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตดังกล่าว
ซึ่งจะเตือนให้ทาง Future Electronics ทราบทันที
ว่าต้องส่งวัสดุในการผลิตโดยเร็ว

ถึงแม้ว่า การร่วมมือตกลงกันในครั้งนี้
จะทำให้ดูเสมือนว่า
เป็นการผลักภาระต้นทุนสินค้าคงคลังไปที่คู่ค้า(Future Electronics)
แต่ทางกลับกัน คู่ค้าได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นได้ว่า
ค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้รับการคืน/ชดเชย
จากการเพิ่มขึ้นของยอดสั่งซื้อ
เป็นรายการที่ชนะ/ชนะ
ร่วมกันของพันธมิตรทางการค้า

เรียบเรียงจาก Marketing Manangement ของ Philip Kotler

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บ้านรังนกนางแอ่น(กินรัง)

เรื่องเล่าจากคนทำป้ายสุสานจีน

ขอโทษทันทีเมื่อส่งอีเมล์ผิดพลาด