รื้อทิ้งเพื่อสร้างสรรค์

ในปี 1942 โจเซฟ ชุมปีเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์
ได้เสนอวิสัยทัศน์ในบทความเกี่ยวกับระบบทุนนิยมว่า
ในการปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมที่ใช้
นวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิม
อย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ(แบบรุนแรง)
โดยการคิดค้นของผู้ประกอบการหลายราย
จะเป็นแรงกดดันสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
แม้ว่าในขณะเดียวกัน
มันก็ทำลายล้างกิจการของธุรกิจหลายกิจการ
ที่มัวแต่พอใจกับอำนาจการผูกขาดมายาวนาน

มีหลายบริษัทที่มักจะปฏิวัติตนเอง
และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแนวใหม่
ต่างจากธุรกิจเดิมของตนเอง
เช่น ซีร๊อก (เครื่องถ่ายเอกสาร) โพราลอย (ภาพถ่ายเร่งด่วน)
เมื่อตระหนักว่า ธุรกิจของตนเริ่มมีกำไรที่ลดลง
พร้อมกับส่วนแบ่งตลาดที่ต่ำลง
เมื่อคู่แข่งขันเริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบสินค้าหรือลดต้นทุนการผลิต
บริษัทเหล่านี้จะเริ่มทำการลดต้นทุนการผลิตของตนเอง
ให้สินค้าราคาต่ำลงกว่าคู่แข่งขัน
มีผลทำให้แย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่งขันที่อ่อนแอกว่า
หรือมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่า
จนทำให้คู่แข่งต้องเลิกธุรกิจนี้ไปเลย
หรือเปลี่ยนไปผลิตสินค้าอื่นแทน
ขณะที่ธุรกิจเดิมของตนยังได้รับประโยชน์
จากการขายสินค้าแบบเดิม

การรื้อทิ้งเพื่อสร้างสรรค์
อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการผลักดันให้
อุตสาหกรรมไปสู่สถานะของผู้ผูกขาด
เช่นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ วอลมาร์ท
ในการที่บริษัทเพิ่มการครอบงำตลาดค้าปลีก
โดยการใช้ระบบบริหารสินค้าคงคลังแบบใหม่
การตลาด และเทคนิคในการบริหารงานบุคคล
โดยค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าแบบเดิม
และรับสินค้าจากกลุ่มบริษัทคู่ค้าขนาดเล็กโดนตรง

อย่างไรก็ตาม
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของผู้สนับสนุน
กระบวนรื้อทิ้งเพื่อสร้างสรรค์แต่อย่างใด
เพราะถ้า วอลมาร์ท ไม่สามารถรักษาราคาสินค้าที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
ก็จะเริ่มมีความเสี่ยงในการเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งรายใหม่
เพราะฉะนั้นข้อเท็จจริงจึงมีอยู่ว่า
ตราบใดที่สามารถยืนหยัดรักษาราคาสินค้าที่ต่ำกว่า
เพื่อป้องกันคู่แข่ง ซึ่งดูเสมือนว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้บริโภค

แม้ว่า ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งการหาวิธีการแบบใหม่
หาทางปรับปรุงประสิทธิภาพให้เหนือกว่าระบบผูกขาดแบบนี้
ซึ่งถ้าหากมีการคิดค้นออกมาได้แล้ว
คู่แข่งรายใหม่จะสามารถขายสินค้า
ในราคาที่ต่ำกว่าธุรกิจที่ผูกขาดนี้
และจะค่อย ๆ กัดกร่อนส่วนแบ่งการตลาดไปในที่สุด
กระบวนการดังกล่าวนี้คือ รื้อทิ้งแบบสร้างสรรค์

โดยทั่วไปแล้ว
นวัตกรรมที่ประสพความสำเร็จอย่างสูง
เป็นเรื่องปกติของอำนาจทางการตลาด
ที่เกิดขึ้นเป็นการชั่วครั้งชั่วคราว
การกัดกร่อนผลกำไรและตำแหน่งทางการตลาดของธุรกิจแบบเดิม
ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว อาจจะทำให้ธุรกิจเดิมต้องพ่ายแพ้ในเชิงธุรกิจ
จากแรงกดดันของนวัตกรรมหรือการคิดค้นแบบใหม่นี้ของคู่แข่งรายใหม่

การรื้อทิ้งแบบสร้างสรรค์
เป็นพลังอำนาจของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
เพราะสามารถอธิบายถึงพลวัตร(อำนาจการเปลี่ยนแปลง/ทำลายล้าง)
ของธุรกิจอุตสาหกรรม
การก้าวข้ามเปลี่ยนจากการแข่งขันไปสู่การผูกขาด
ในทางการตลาด และหวนกลับมาแบบเดิมอีกครั้ง
นี่เป็นการเสนอแนะ ทฤษฏีการเจริญเติบโตแบบมุ่งภายใน
และเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐศาสตร์แบบวิวัฒนาการ

แต่การรื้อทิ้งแบบสร้างสรรค์
เป็นสิ่งที่ให้ผลเลวร้ายสำหรับบางคน บางธุรกิจ
เพราะนำมาสู่การเลิกจ้างคนจำนวนมากที่พ้นสมัย
ไม่ทันยุคต่อนวัตกรรมแบบนี้
แม้ว่าอาจจะมีการสร้างงานให้กับคนส่วนหนึ่ง
ที่เหมาะสมกับการสร้างสรรค์ที่เพิ่มมากขึ้น
และการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์อย่างเต็มที่
แต่ก็ยังสร้างความข่มขื่นได้ในระยะสั้น

ตัวอย่างธุรกิจอุตสาหกรรม
ที่ได้รับผลกระทบจากการรื้อทิ้งแบบสร้างสรรค์
1. ตลาดใหม่หรือสินค้าตัวใหม่
2. เครื่องจักรกลแบบใหม่
3. แหล่งแรงงานหรือแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหม่
4. วิธีการการบริหารหรือการจัดการแบบใหม่
5. วิธีการบริหารสินค้าคงคลังแบบใหม่
6. วิธีการขนส่งสินค้าแบบใหม่
7. วิธีการสื่อสารแบบใหม่ (เช่น อินเตอร์แน็ต)
8. วิธีการประชาสัมพันธ์หรือการตลาดแบบใหม่
9. เครื่องมือทางการเงินแบบใหม่
10. วิธีการได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายนักการเมือง
หรือแนวทางใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแบบใหม่

เรียบเรียงจาก "Wikipedia.org หัวข้อ Creative destruction 20061010."

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บ้านรังนกนางแอ่น(กินรัง)

เรื่องเล่าจากคนทำป้ายสุสานจีน

ขอโทษทันทีเมื่อส่งอีเมล์ผิดพลาด