ห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคล

ปัญหาการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคล

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคล ซึ่งตามกฎหมายคือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงจะได้แต่กิจการที่ทำนั้นได้ [i]แยกเป็นนิติบุคคลสองประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (นิติบุคคล) ซึ่งผู้ถือหุ้นทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินร่วมกัน [ii] และห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งแบ่งผู้ถือหุ้นออกเป็นสองประเภทคือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด [iii] แต่ก็มีข้อควรพิจารณาถึงปัญหาการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนประเภทนิติบุคคลที่ควรพิจารณาเบื้องต้นคือ.-

การจดทะเบียนก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่ำคือ ไม่เกินกว่าห้าพันบาท ในวงเงินก่อตั้งห้าง ซึ่งสามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเองที่ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าในแต่ละจังหวัด หรือจดทะเบียนที่ส่วนกลาง(กรุงเทพมหานคร) หรืออาจจะว่าจ้างสำนักงานบัญชีหรือสำนักงานทนายความไปดำเนินการแทนได้ โดยมีค่าใช้จ่ายอีกต่างหาก
เมื่อจดทะเบียนแล้ว หากมีทรัพย์สินที่ซื้อมาก็เป็นกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ก็จะมีปัญหาตามมาภายหลังได้ถ้าไม่แยกให้แน่ชัดแล้ว การแบ่งทรัพย์สินจะมีข้อพิพาทตามมาอีกมากมาย
เมื่อสิ้นปีแล้วจะต้องยื่นงบดุล งบกำไรขาดทุน ต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า ถ้าไม่ยื่นจะมีโทษปรับไม่เกินกว่า สี่หมื่นบาท หรือระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่า 2 ปี
ในการยื่นงบดุล งบกำไรขาดทุน ก็จำเป็นต้องให้ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือผู้ตรวจสอบภาษี รับรองก่อนการยื่นงบดุล งบกำไรขาดทุน จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบบัญชีหรือตรวจภาษี ในอัตราระหว่าง 1,000-10,000-บาท
ในกรณีไม่ยื่นงบดุล งบกำไรขาดทุน ถ้าเกินกว่าสามปีขึ้นไป นายทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท สามารถขีดฆ่าชื่อห้างหุ้นส่วนนี้ออกจากสารบบ เป็นนิติบุคคลทิ้งร้างได้ ถ้าไม่ได้ซื้อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ หรือ ที่ดินที่จดชื่อไว้ในนามห้างหุ้นส่วน ก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าซื้อไว้ในนามของห้างหุ้นส่วน ก็ต้องยื่นคำขอกลับคืนสู่สถานภาพเดิม ก็ต้องกลับไปชำระค่าปรับเดิมที่ค้างก่อน พร้อมยื่นงบกำไรขาดทุน และงบดุล พร้อมกับรอระยะเวลากลับคืนสู่สถานภาพเดิมสักระยะเวลาหนึ่ง
กรณีเลือกที่จะเลิกการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน ก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ และไม่น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ และต้องยื่นงบดุล งบกำไรขาดทุน ให้กับทางสำนักพัฒนาธุรกิจการค้า รวมทั้งต้องรายงานการชำระบัญชีเป็นระยะ จนกว่าจะชำระบัญชีเสร็จสิ้น ในการดำเนินการดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 20,000.-บาทขึ้นไป
การยื่นเลิกห้างหุ้นส่วนกับทางสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องไม่มีภาษีค้างจ่ายหรือไม่มีปัญหาภาษีคงค้างกับสรรพากร แต่อย่างไรด้วย เพราะหนี้ภาษีอากรมีอายุความสิบปี ถ้าสรรพากรตรวจพบก็ต้องชำระภาษีตามกฎหมาย
ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้/หรือกำไรสุทธิต่ำกว่าสี่ล้านบาท ก็แทบไม่ได้ประโยชน์จากอัตราภาษีแต่อย่างไร ในอัตราร้อยละ 30 ตามประกาศของกรมสรรพากร
กรณียื่นขอสินเชื่อจากธนาคารก็ต้องมีงบดุล งบกำไรขาดทุนแนบ และถ้าบัญชีมีการขาดทุนเกินกว่าสามปี ทางธนาคารก็จำเป็นต้องกันสำรองไว้ และให้ถือว่าเป็นหนี้มีปัญหา NPL
การขอสินเชื่อสถาบันการเงินแล้ว ปกติหุ้นส่วนทุกรายต้องค้ำประกันอีกโสดหนึ่ง แม้ว่าจะมีทรัพย์สินนิติบุคคล/หรือทรัพย์สินส่วนตัวเพียงพอแล้วก็ตามแต่ เพราะระบบการให้สินเชื่อของประเทศไทย ยังคงเอาธุรกิจไปผูกพันมัดติดกับทรัพย์สินส่วนตัว ถ้าธุรกิจย่ำแย่ก็นำเอาทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าทางนิตินัยแล้ว นิติบุคคล ควรจะมีภาระหน้าที่แยกออกจากบุคคลธรรมดาแล้วก็ตาม

สิ่งเหล่านี้คือข้อควรพิจารณาของผู้ประกอบการรายใหม่ว่าจะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน เป็นแบบนิติบุคคล
ดีหรือไม่ ถ้ายังไม่แน่ใจควรไปจดทะเบียนผู้เสียภาษีประเภท ห้างหุ้นส่วน กับสำนักงานสรรพากร ก็มีสภาพเป็นห้างหุ้นส่วน เหมือนกัน และการเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา สามารถเลือกเสียภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายได้ จะยื่นงบดุล งบกำไรขาดทุน โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภาษี กรณีเลิกกิจการก็ยื่นบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีคืนให้กับสำนักงานสรรพากรพร้อมกับชำระภาษีคงค้างให้ครบถ้วนก่อน ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์กว่า


[i] มาตรา 1012 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[ii] มาตรา 1012,1025,1026ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[iii] มาตรา 1077,1078ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพ.ศ. 2544
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติ บางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ และรายได้ ทุกรายการไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
(1) ทุนห้าล้านบาท (2) สินทรัพย์รวมสามสิบล้านบาท (3) รายได้รวมสามสิบล้านบาท
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
สวัดดีครับ
ผมพึงมาเจอ blog ของคน...
ว่าแต่ว่า คนเป็นผู้หญิง หรือผู้ชายครับ
รวีเป็นชื่อเล่นหรือเป็นชื่อนามปากกาของคุณ ?

...คือว่า ชื่อของคุณ คล้ายชื่อเล่นของผม
ชื่อนี้มีผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งตั้งให้ผมนะ
พอเห็นชื่อคนเหมือนกันก็แปลกใจ อิอิ

จากบทความที่คุณเขียน แสดงว่า คุณคงจะเก่งทางด้านรัฐศาสตร์ หรือไม่ก็นิติศาสตร์....

แล้วเรื่องที่เขียนก็คลายๆบอกว่า มีบริษัทของใครคนหนึ่ง กำลังเจอเรื่องการแบ่งภาคหุ้นกัน....อืม...อ่านแล้วทำให้ผมนึกถึงบริษัทที่ผมรู้จักบริษัทหนึ่ง...เป็นบริษัทที่ผมชอบมากกกกกกก..ฯ แต่จะไม่พุดในที่นี้หรอกครับ อิอิ

หากสะดวก คนน่าจะ update blog ของคุณเพิ่มนะครับ

ว่างๆๆ ผมจะมาอ่าน
ได้ความรู้เยอะแยะเลยครับ


และว่างๆๆ ช่วยตอบคำถามที่ถามไปด้วยนะ


ขอบคุณ


จากคนชื่อเหมือนกัน ^^"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บ้านรังนกนางแอ่น(กินรัง)

เรื่องเล่าจากคนทำป้ายสุสานจีน

ขอโทษทันทีเมื่อส่งอีเมล์ผิดพลาด