เหมืองทองโต๊ะโมะ-ทองคำ


เหมืองทองโต๊ะโมะ - ทองคำ


ที่น่าสังเกตคือ ปากทางเข้าถ้ำที่ไม่สูงมาก
และความกว้างประมาณหนึ่งเมตรเศษ ๆ
มีสหศาสนาวางอยู่หน้าปากทางเข้าถ้ำ
ประกอบด้วย รูปพระเยซู พระแม่มารีอา พระพุทธรูป ตีจูเอี้ย
และพรมที่ละหมาดของคนนับถือศาสนาอิสลาม

เลยถามแกว่าทำไมถึงต้องมีขนาดนี้
แกบอกว่าเดิมเหมืองแร่แห่งนี้เป็นของคนฝรั่งเศส
มารับสัมปทานทำก่อนแล้วเลิกไปช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่ก่อนหน้านั้นมีคนอังกฤษมาทำเหมืองแร่ทองก่อน
แต่เป็นการทำแบบเถื่อน ๆ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพราะอาศัยอิทธิพลทางการทหารและเมืองขึ้นมลายู
เข้ามาทำเหมืองแร่ทองคำในฝั่งไทย
กอปรกับช่วงนั้น การเดินทางก็ลำบากมาก
การทหารกับตำรวจไทยก็ไม่มีความเข้มแข็งแต่อย่างไร
เลยต้องปล่อยเลยตามเลย
ต่อมาขุดแร่ทองคำได้น้อยเลยเลิกกิจการไป
แล้วตามมาด้วยคนฝรั่งเศสที่มาขอรับสัมปทานจากไทย
ก่อนเลิกกิจการช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากขุดจนพรุนได้แร่ทองคำไปมากมายแล้ว

ในเหมืองแร่เคยมีคนถูกหินในถ้ำถล่มตายกว่าร้อยศพ
เลยต้องมีพิธีกรรมอัญเชิญเจ้าแม่โต๊ะโมะ
มาประดิษฐานก่อนย้ายไปที่สุไหงโก-ลค
เมื่อมาเปิดเหมืองใหม่ก็นำเอารูปปั้นศาสนาต่าง ๆ มาวางไว้
เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของคนที่จะทำงานในเหมือง
เพราะงานเหมืองค่อนข้างอันตราย
รวมทั้งคนงานเหมืองแร่มักจะมีความเชื่อแบบแปลก ๆ ด้วย

เมื่อถามต่อว่าแล้วทองคำอยู่ที่ไหน
แกบอกว่าเห็นหินแกรนิตที่ยืนอยู่เมื่อกี้ไหม
เลยบอกว่าเห็นจำนวนมากเลย
แกบอกนี่แหละทองคำมูลค่าไม่ต่ำกว่าสิบห้าล้านบาท
ก็ยังงง ๆ อยู่ แกบอกว่าใช่เลย
ทองคำจริง ๆ ที่เป็นสายแร่หรือก้อนเล็ก ๆ จะหายากมาก
ส่วนมากจะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ ละเอียดมาก ปนอยู่ในหิน
และที่ดีมากมักจะปนกับหินแกรนิตที่แข็งมาก

ที่ผ่านมาจะบรรทุกหินดังกล่าวด้วยรถยนต์สิบล้อ
วิ่งผ่านเข้าประเทศมาเลย์ทางด่านสุไหงโก-ลค
วิ่งไปลงเรือที่ปีนังก่อนส่งไปที่สิงคโปร์
เพื่อทุบย่อยให้ละเอียดแล้วสะกัดทองคำออกมา
บนเหมืองก็เคยทำอยู่บ้าง เฉพาะกรณีที่เจอว่ามี
เกล็ดแร่ทองคำปนอยู่เป็นจำนวนแร่มากจริง ๆ
แต่ถ้าเกล็ดแร่น้อยมากไม่คุ้มกับค่าน้ำมันและแรงงาน
ในการบดขยี้ก้อนหินให้ละเอียดเพื่อคัดแยกทองคำ
ก็จะใช้วิธีดังกล่าวแทนโดยการส่งไปที่สิงคโปร์ทำการแทน
ขากลับเลยเก็บมาเป็นของที่ระลึกสองก้อน
ยังเก็บไว้กับความทรงจำ ตอนนี้ไม่ทราบว่าไว้ตรงไหน
ถ้าเจอจะ Post ภาพถ่ายให้ดูกัน

แก้ไขวันที่ 24 สิงหาคม 2552 เจอหินแล้วจะโพสเลยครับ

แกเล่าว่าทองคำที่สะกัดได้ในเหมืองนี้เป็นทองแท่ง
การนำออกไปส่งที่สุไหงโก-ลค จะเป็นความลับมาก
บางทีขนออกไปพร้อมกับก้อนหินดังกล่าวซุกอยู่ข้างใต้
หรือขนออกไปกับรถยนต์พร้อมคนดูแลกับอาวุธปืน
เพราะมูลค่าครั้งละประมาณสิบถึงยี่สิบกิโลกรัม
ทองบาทหนึ่งจะมีน้ำหนักนิยามตามสมาคมค้าทองคำ

ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย)
ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม

ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%
ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 ออนซ์
ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 31.104 กรัม

ทองคำเหมืองแร่จะตกประมาณเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็น
หรือมูลค่าประมาณครั้งละสิบกิโลกรัม
ก็เป็นน้ำหนักทองคำประมาณ 655.9 หรือ 656 บาท
มูลค่าช่วงนั้นประมาณสี่พันบาท
หรือตกประมาณสองล้านหกแสนเศษ
ถ้ายี่สิบกิโลกรัมก็ตกประมาณ 1312
หรือประมาณห้าล้านสองแสนบาท

แกเล่าว่าช่วงฝรั่งเศสทำเหมืองแร่ทองคำอยู่
ก็ใช้ช้างในการขนส่งทองคำ
โดยซุกซ่อนเป็นความลับออกไปเสมือนไปติดต่อธุระ
หรือจับจ่ายหาเสบียงอาหารมาที่เหมืองแร่
ก่อนจะนำไปขายที่รัฐปีนังมาเลย์
หรือส่งไปที่ฝรั่งเศสทางเรือโดยสาร
ที่ปีนังจะสามารถหาซื้ออาหารและเครื่องมือเครื่องใช้
เพราะบ้านเมืองมีความเจริญอยู่มาก
มีท่าเทียบเรือฝั่งอันดามัน(มหาสมุทรอินเดีย)
สามารถไปใช้ชีวิตที่สะดวกสะบายกว่าที่เหมืองแร่มาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บ้านรังนกนางแอ่น(กินรัง)

เรื่องเล่าจากคนทำป้ายสุสานจีน

ขอโทษทันทีเมื่อส่งอีเมล์ผิดพลาด